กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็ก

กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็ก

กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต (Growth Curve) เป็นเครื่องมือเบื้องต้นที่ใช้ในการติดตามพัฒนาการและประเมินภาวะการเจริญ เติบโตของเด็กตามเพศ อายุ และเชื้อชาติ โดยแสดงออกมาในรูปกราฟ สำหรับประเทศไทยกราฟนี้พัฒนามาจากข้อมูลประชากรเด็กไทยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข อายุตั้งแต่ 1 วัน จนถึงอายุ 19 ปี

กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กไทย แยกตามเพศและอายุ ดังนี้
    -  กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กหญิง (สีชมพู) อายุ 0-36 เดือน
    -  กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กหญิง (สีชมพู) อายุ 2-19 ปี
    -  กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กชาย (สีฟ้า) อายุ 0-36 เดือน
    -  กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กชาย (สีฟ้า) อายุ 2-19 ปี กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต เป็นเส้นกราฟที่ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ เส้นกราฟกลุ่มล่างจะแสดงน้ำหนัก (กิโลกรัม) และเส้นกราฟกลุ่มบนจะแสดงความสูง (เซนติเมตร) โดยมีแกนนอนเป็นอายุ ได้แก่ 0-36 เดือน (1 ช่องย่อยเท่ากับ 1 เดือน) และอายุ 2-19 ปี (1 ช่องย่อยเท่ากับ 3 เดือน) และมีเส้นกราฟเปอร์เซ็นต์ไทล์ (Percentile) ที่ 3, 10, 25, 50, 75, 90 และ 97 ทั้งส่วนของน้ำหนักและความสูง ของเพศและอายุเดียวกันเป็นตัวเปรียบเทียบว่าเด็กมีพัฒนาการเจริญเติบโตเป็น ไปตามเกณฑ์มาตรฐาน หรือสูงกว่า หรือต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

วิธีการใช้กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต
เลือกกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตตามเพศ (สีชมพูสำหรับเด็กหญิง หรือสีฟ้าสำหรับเด็กชาย) และอายุ (0-36 เดือน หรือ 2-19 ปี) ให้ถูกต้อง จากนั้นให้นำความสูง (เซนติเมตร) และน้ำหนัก (กิโลกรัม) ของเด็ก ณ อายุที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มากำหนดจุดลงบนกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต เช่น เมื่อเด็กอายุ 8 ปีมีน้ำหนัก 25 กิโลกรัม ความสูง 65 เซนติเมตร ให้ลากเส้นแนวตั้ง (ขนานกับแกนตั้ง) ที่อายุ 8 ปี ขึ้นไปตัดกับเส้นแนวนอน (ขนานกับแกนนอน) ที่น้ำหนัก 25 กิโลกรัม และที่ความสูง 65 เซนติเมตร จะได้จุดตัดระหว่างอายุกับน้ำหนัก 1 จุด และจุดตัดระหว่างอายุกับความสูงอีก 1 จุด ให้ทำเช่12นเดียวกันเมื่อเด็กมีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะได้กราฟการเจริญเติบโตของเด็กทั้งส่วนที่แสดงเป็นน้ำหนัก (กราฟช่วงล่าง) และส่วนที่แสดงเป็นความสูง (กราฟช่วงบน)  จากนั้นพิจารณาดูว่ากราฟการเจริญเติบโตของเด็กมีแนวโน้มเป็นไปตามเส้นกราฟ มาตรฐานการเจริญเติบโตเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่เท่าไร และมีแนวโน้มว่าจะลดลงหรือเพิ่มขี้นจากเดิมหรือไม่